เมนู

การเห็นมรรค ด้วยสามารถแห่งการบรรลุอริยสัจ 4 มีเนื้อความที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกุมารปัญหา ชื่อว่า อริสัจจานทัสสนะ
การเห็นอริยสัจนั้นท่านกล่าวว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ท่านพ้นจากทุกข์
ในสังสารเสียได้.
ชื่อว่า การกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้าพเจ้าจักได้กล่าวต่อไป. ใน
มงคลสูตรนี้ คำว่า อรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ไว้ว่า นิพพาน
เพราะว่าอรหัตผลนั้น เรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหาที่เรียกว่า
วานะ เพราะร้อยรัดคติ 5 ไว้. การบรรลุหรือการพิจารณาพระนิพพานนั้น
ท่านเรียกว่า สัจฉิกิริยา การกระทำให้แจ้ง แต่การกระทำให้แจ้วพระนิพพาน
นอกนี้ สำเร็จได้ ก็ด้วยการเห็นอริยสัจเท่านั้น เพราะเหตุนั้นพระนิพพานนี้
จึงไม่ได้ประสงค์เอาในมงคลนี้ การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ พึงทราบว่า
เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดังพรรณนามาฉะนี้.
ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการคือ ตบะ 1
พรหมจริยา 1 การเห็นอริยสัจ 1 การทำนิพพานให้แจ้ง 1 ดังพรรณนามา
ฉะนี้ ก็ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้วใน
มงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.
จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า
ตโป จ เป็นต้น

คาถาที่ 10

(มี 4 มงคล)
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ เป็น
ต้นนี้ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ผุฏฺฐสฺส ได้แก่ สัมผัส คือถูกต้อง ได้แก่ ถึงพร้อม.
ธรรมทั้งหลายในโลก ชื่อว่า โลกธรรม มีคำอธิบายว่า โลกยังเป็น
ไปอยู่ตราบใด ธรรมทั้งหลายก็ไม่หมุนกลับตราบนั้น.
มโน คือ มานัส ชื่อว่า จิต.
บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระนวกะ หรือพระมัชฌิมะ หรือพระเถระ.
บทว่า น กมฺปติ ได้แก่ ไม่หวั่น ไม่สะเทือน.
บทว่า อโสกํ ได้แก่ไม่เศร้าโศก คือถอนลูกศรคือความโศกเสียได้.
บทว่า วิรชํ ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะ คือผู้กำจัดราคะได้แล้ว.
บทว่า เขมํ ได้แก่ ไม่มีภัย คือไร้อุปัทวะ คำที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้า
กล่าวแล้วแล นี้เป็นการพรรณนาเฉพาะบทก่อน ส่วนการพรรณนาเนื้อความ
พึงทราบดังต่อไปนี้.
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ก็ไม่หวั่นไหว คือ
จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้ง 8 มีลาภเป็นต้น ถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่คลอนแคลน ไม่สะเทือน จิตนั้นของบุคคลนั้น
อันใคร ๆ ไม่พึงให้หวั่นไหวได้ เพราะนำโลกุตรมรรคมาให้.
ถามว่า ก็จิตของใครถูกโลกธรรมเหล่านี้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว.
ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ย่อมไม่หวั่นไหว หาใช่จิต
ของใครอื่นไม่ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ภูเขาศิลาแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว
เพราะลมฉันใด รูป รส เสียง กลิ่น

สัมผัส รวมทั้งธรรมที่น่าปรารถนา และ
ธรรมนี้ไม่น่าปรารถนา หาได้ทำจิตซึ่งตั้งมั่น
หลุดพ้นแล้วของท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่
ทั้งท่านย่อมเห็นความสิ้นไปแห่งสภาวธรรม
เหล่านั้นด้วย ดังนี้1

จิตของพระขีณาสพเท่านั้น ชื่อว่า อโสกํ ไม่เศร้าโศก. จริงอยู่
จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความโศก ที่ท่าน
เรียกกันโดยนัยว่า ความโศก ความเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ
เศร้าโศกในภายใน ความแห้งเกรียมในภายใน ความที่ใจเผาไหม้ ดังนี้เป็นต้น.
อาจารย์บางพวก เรียกจิตที่ไม่เศร้าโศกนี้ว่า พระนิพพาน.
จิตที่ไม่เศร้าโศกนั้น ท่านไม่ต่อกับบทก่อน (จิตที่ถูกโลกธรรม)
เหมือนอย่างว่า คำว่าจิตไม่เศร้าโศกเป็นจิตของพระขีณาสพฉันใด แม้คำว่า
จิตที่ปราศจากธุลี จิตเกษม ก็เป็นจิตของพระขีณาสพเหมือนกันฉันนั้น ด้วยว่า
จิตของพระขีณาสพนั้น ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะเป็นจิตที่ปราศจากธุลีคือ
ราคะ โทสะ และโมหะ และ ชื่อว่า เกษม เพราะเป็นจิตที่ปลอดจากโยคะ
ทั้งสี่ เพราะจิตของพระขีณาสพนี้ แม้จะมี 3 อย่าง (อโสกํ วิรชํ เขมํ)
ด้วยสามารถที่ท่านถือเอาในปวัตติขณะนั้น ๆ แสดงไว้โดยอาการนั้น ๆ ก็พึง
ทราบว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีความที่ขันธ์
ไม่เป็นไปอีกเป็นต้น (ไม่ต้องเกิดอีก) และนำมาซึ่งความเป็น อาหุเนยยบุคคล
เป็นต้น.
1. อัง. ฉักก. 22/ ข้อ 326.

ด้วยพระคาถานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 4 ประการ ความที่จิต
ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรม 8 อย่าง 1 จิตไม่เศร้าโศก 1 จิตปราศจากธุลี 1
จิตเกษม 1 ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านี้เป็นมงคล ข้าพเจ้า
ได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล
จบการพรรณนาเนื้อความ แห่งคาถาที่ว่า
ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ เป็นต้นนี้

คาถาที่ 11


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล 38 ประการ ด้วยพระคาถา 10 พระ-
คาถาว่า อเสวน จ พาลานํ ดังนี้เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. บัดนี้
เมื่อจะทรงชมเชยมงคล ที่พระองค์ตรัสไว้เหล่านี้แล จึงได้ตรัสพระคาถาสุดท้าย
นี้ว่า เอตาทิสานิ กตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.
การพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้.
คำว่า เอตาทิสานิ ความว่า มงคลทั้งหลาย มีการไม่เสพพวกคน
พาลเป็นต้น เช่นนี้ เหล่านี้ คือที่มีประการอันเรากล่าวแล้ว.
บทว่า กตฺวาน ได้แก่ การทำแล้ว จริงอยู่บท 3 บท คือ กตฺวาน
กตฺวา กริตฺวา
โดยเนื้อความก็ไม่ใช่อื่น (ถือเป็นอันเดียวกัน)
บทว่า สพฺพตฺถมปราชิตา ความว่า เป็นผู้แม้อันศัตรูอย่างหนึ่งใน
บรรดาศัตรู 4 ประเภท อันต่างโดยขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร และ
เทวปุตตมาร จะให้พ่ายแพ้ไม่ได้ อธิบายว่า ทำมารทั้ง 4 ประเภทเหล่านั้น